รัฐอลาสก้ามีพื้นที่ทางตะวันออกติดต่อกับดินแดน ยูคอนเทร์ริทอรี และรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา ทางใต้ติดต่อกับ อ่าวอลาสก้า และมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับ ทะเลเบริง ช่องแคบเบริง และทะเลชุคชี ส่วนทางเหนือติดกับ ทะเลโบฟอร์ต และมหาสมุทรอาร์กติก
อลาสก้า เป็นรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีภูเขาไฟอยู่ 41 ลูก ที่อันตรายที่สุดคือ ภูเขาออกัสติน เมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือ Anchorage มีประชากรราว 3 แสนคน ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของรัฐ แต่เมืองหลวงของรัฐคือ Juneau สาเหตุที่ได้เป็นเมืองหลวงทั้งๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าก็เพราะว่าอยู่ใกล้แผ่นดินแม่มากกว่า
อลาสก้าไม่มีพื้นที่ติดต่อกับแผ่นดินใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาเลย ดังนั้นค่าครองชีพที่อลาสก้าแพงกว่ารัฐอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารเพราะหิมะปกคลุมตลอดไม่สามารถทำการเกษตรปลูกอะไรได้เลย เช่น สับปะรด และกล้วยที่นำเข้าจากฮาวาย และอื่นๆ ที่นำเข้าจากรัฐข้างล่าง และต่างประเทศ
เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 10-15 องศาเซลเซียส
เดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 กว่าองศาเซลเซียส และอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิช่วงฤดูร้อนอาจรู้สึกร้อนกว่าเมืองไทย เพราะอากาศมีความแห้งสูงโดยเฉพาะทางตอนเหนือของรัฐที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ตลอด 24 ชั่วโมง
ดือนกันยายน-เดือนพฤศจิกายน
อากาศเริ่มเย็นลง เป็นช่วงใบไม้เปลี่ยนเป็นสีแดงส้มเต็มพื้นที่
เดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์
อุณหภูมิติดลบ เป็นช่วงที่ไม่นิยมเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวใน
ดินแดนนี้
เมื่อปี ค.ศ. 1867 หรือประมาณ 150 ปีก่อน สหรัฐอเมริกายังไม่ใช่มหาอำนาจอย่างทุกวันนี้ ส่วนรัสเซียที่เป็นมหาอำนาจปกครองโดยพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ก็ไม่รู้ว่าจะทำประโยชน์อะไรกับดินแดนกว้างใหญ่ที่รกร้างว่างเปล่านี้ ก็เลยทำสัญญาซื้อขายดินแดนกับทางสหรัฐอเมริกา โดยลงนามกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ.1867 ด้วยสัญญามูลค่า 7,200,000 ดอลลาร์ ตอนนั้นรัสเซียก็ดีใจที่ขายไปได้ แต่ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ นายวิลเลี่ยม เซวาร์ด รัฐมนตรีต่างประเทศ กลับโดนล้อว่าเสียเงินไปมากมายเพื่อซื้อก้อนน้ำแข็ง และดินแดนว่างเปล่ามาแบบไร้ประโยชน์
แต่เมื่อตอนหลังเกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น เพราะมีการค้นพบทองคำมากมายในดินแดนแห่งนี้ จนทำให้มูลค่าของดินแดนเพิ่มขึ้นพรวดพราด ต่อมายังมีการค้นพบน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงทรัพยากรทางป่าไม้อีกมากมายที่มีประโยชน์จนทำให้อเมริกานั้นคืนทุนพร้อมกับกำไรอีกหลายเท่าตัว ส่วนทางรัสเซียก็กลายเป็นฝ่ายเจ็บใจเมื่อสุดท้ายแล้วดินแดนที่ตนคิดว่าไร้ประโยชน์กลับมีค่ามหาศาล และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศคู่แข่งอย่างอเมริกายิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้
จูโน่เป็นเมืองที่พบทองคำครั้งแรกใน ค.ศ.1880 จึงได้นำชื่อของนายจูเซป จูโน่ ผู้พบทองคำมาตั้งเป็นชื่อเมือง เมืองนี้มีขนาดเล็กแต่ดูเรียบร้อย กลางเมืองใกล้ท่าเรือมีบาร์ชื่อ Red Dog Saloon ร้านนี้ตั้งขึ้นตั้งแต่สมัยยุคตื่นทอง และยังคงตกแต่งร้านเหมือนเดิมทั้งหมด ที่พื้นโรยด้วยขี้เลื่อยถ้าใครสั่งเครื่องดื่มมากๆทางร้านจะมอบประกาศนียบัตรให้ด้วย
ส่วนตรงสะพานท่าเรือจะมี อนุสาวรีย์ของสุนัขผู้ซื่อสัตย์ ซึ่งสมัยมีชีวิตอยู่มันจะมาคอยต้อนรับนักแสวงโชคทุกคนที่เดินทางมาถึงเมืองจูโน่
ส่วนสถานที่ที่ไม่ควารพลาดเมื่อไปถึงเมืองจูโน่นั่นก็คือการไปชมธารน้ำแข็งเมนเดรนฮอลล์ เกรเชอร์ (Mendenhall Glacier) อันยิ่งใหญ่
อุทยานแห่งชาติแห่งนี้กินอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลเป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุด และสวยที่สุดแห่งหนึ่งของอลาสก้า น้ำแข็งจากทุ่งน้ำแข็งเบื้องบนเลื่อนไหลลงมาเป็นทางคดเคี้ยวยาวกว่า 12 ไมล์ เหมือนแม่น้ำสายใหญ่แม้เราจะไม่เห็นอาการไหลของน้ำแข็งกับตาแต่เสียงเอี๊ยดๆ ซึ่งเป็นเสียงน้ำแข็งเลื่อนตัวจากสถิติบอกว่าการเลื่อนของธารน้ำแข็งประมาณวันละ 2 ฟุต และของที่ระลึกของเมืองนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับยุคตื่นทอง
เราเคยไปในดินแดนของอินเดียนแดง เราเคยไปในถิ่นของปลาแซลมอนหรือเราเคยไปในถิ่นของนกอินทรี
ธารน้ำแข็งเป็นมวลของน้ำแข็งที่ได้จากการสะสมตัว การรวมตัวกันอย่างหนาแน่น และการตกผลึกใหม่จากหิมะที่ไหลอยู่ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง หิมะซึ่งสะสมตัวอยู่ตามยอดเขา ถ้าภูมิอากาศเหมาะสม อาจสามารถคงอยู่ได้โดยไม่มีการละลายเป็นหลายร้อยหลายพันปี
ในฤดูวางไข่ของปลาแซลมอน ประมาณเดือนสิงหาคม ปลาจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ด้านบน และจะมีหมีคอยจับปลาพวกนี้กินเป็นอาหาร ปลาแซลมอนเมื่อวางไข่แล้วก็จะตายในทันทีปลาชนิดนี้จะเกิดในน้ำจืด แต่โตในน้ำทะเล และจะกลับมาวางไข่ในน้ำจืดอีกครั้ง
ในช่วงระหว่างที่แซลมอนเติบโตในน้ำทะเล แซลมอนจะสะสมไขมันจากการกินแพลงตอน และสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นไขมันจำเป็นที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการแต่ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้นั่นคือกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เรียกว่า โอเมก้า 3 และเชื่อกันว่าปลาทะเลเขตหนาวจากอลาสก้าจะมีโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาจากเขตร้อน โดยเฉพาะปลาแซลมอนจัดว่าเป็นปลาที่มีโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาทะเลชนิดอื่นๆ
หรือหมีน้ำตาลเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในป่าตามหุบเขาทางตะวันตกฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ทางตอนเหนือของรัฐอลาสก้า และแคนาดา หมีชนิดนี้มีประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตา และหูของตัวมันเอง มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก บริเวณรอยต่อของแขนทั้ง 2 ข้างคือ หนอก ซึ่เป็นข้อแตกต่างของหมีกรีซลีย์กับหมีชนิดอื่นๆ กล้ามเนื้อตรงนี้ทำให้มีพลังในการขุด ตะปบ ปีนป่าย และวิ่ง
หมีกรีซลีย์ จะใช้ช่วงเวลาในฤดูหนาวจำศีลประมาณ 5-7 เดือน และตามธรรมชาติจะออกลูกครั้งละ 1-4 ตัวราวๆ เดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นในช่วงฤดูร้อนก็จะเป็นเวลาในการออกหาอาหารกิน อาหารจานหลักคือ ปลาแซลมอนตามลำธารน้ำจืด โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมที่แซลมอนจะกลับมาที่แหล่งน้ำจืดสำหรับฤดูการวางไข่นั่นเอง
เสาไม้แกะสลักขนาดใหญ่ และมีการลงสีสันแต่งแต้มด้วยสีจากธรรมชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าชาวพื้นเมืองของอเมริกาเหนือมักจะทำด้วยไม้จำพวกไม้สน วัตถุประสงค์ในการสร้างเสาโทเทมมักจะต้องการบอกเล่าเรื่องราวหรือตำนานของเผ่า เชื้อสายของชนเผ่า หรือเหตุการณ์ที่สำคัญ บ้างก็ต้องการแสดงออกถึงผลงานศิลปะ แต่ไม่ได้ทำเพื่อสักการะบูชาประการใด โดยมากจะแกะสลักเป็นรูปสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ และการเชื่องโยงระหว่างธรรมชาติ และมนุษย์ ด้านบนของเสาโทเทม เป็นเครื่องหมายของเผ่านั้นๆ เช่น เผ่านกอินทรี เผ่านกราเวน บีเวอร์ หมาป่า หมี และกบ เป็นต้น
การลงสีเสาโทเทม แบบดั้งเดิมจะใช้สีแดง ดำ น้ำตาล และฟ้าเขียว ซึ่งวัตถุดิบจากธรรมชาติคือ ถ่าน แร่ปรอท เหล็กออกไซด์ ทองแดงออกไซด์โดยผสมกับน้ำมันจากไข่ปลาแซลมอน